วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกบทความ/เคสการทำFiberotomyเพื่อแก้ไขการคืนกลับของฟันที่ผ่านการแก้ไขฟันบิดหมุน

การทำFiberotomyเพื่อแก้ไขการคืนกลับของฟันที่ผ่านการแก้ไขฟันบิดหมุน

“การทำFiberotomyเพื่อแก้ไขการคืนกลับของฟันที่ผ่านการแก้ไขฟันบิดหมุน”

(Circumferential supracrestal fiberotomy in Rotational-Relapsed tooth)

บ่อยครั้งในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่คุณหมอหลายท่านมักจะมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการรักษา คือการเคลื่อนฟันให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการได้, แก้ไขฟันที่ซ้อนเกได้, การปิดช่องว่างที่มีอยู่หรือจากการถอนฟันได้ก็ดี…แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ว่าการรักษาในช่วงactive txนี้จะสำคัญเพียงอย่างเดียว ยังมีการรักษาอีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมากๆ นั่นคือการรักษาในช่วงretention phase ที่…จะทำอย่างไร?ให้ฟันที่เราเคลื่อนไปเหล่านั้นยังคงอยู่ในตำแหน่งนี้ตลอดไป ดังคำกล่าวในบางบทความว่า “การรักษาช่วงretention phase ถือเป็นstepที่ยากที่สุดในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน” (Edward 1970)  

ดังที่เราจะพบปัญหาที่เกิดขึ้นในคนไข้หลายเคส ที่หลังถอดเครื่องมือจัดฟันออกไม่นานก็เริ่มมีประสบปัญหาการrelapseเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น re-opening of spaceบ้าง, re-rotationบ้าง,… 

ซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการเกิดrelapseและส่งผลต่อการพิจารณาประเภท/ระยะเวลาของการใส่retainer เช่น severityของbaseline malocclusion, อายุของคนไข้, สาเหตุของmalocclusionในเคสนั้นๆ, habitบางอย่าง, periodontal health, muscle, รวมทั้งการวางtreatment planที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น 

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในปัญหาorthodontic relapseที่พบได้บ่อยที่สุดของการรักษาในทางทันตกรรมจัดฟันคือการเกิด “rotational relapse” ดังนั้นประเด็นที่อยากจะกล่าวถึงในบทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจintrinsic factorที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเกิดrelapseประเภทนี้ 

อย่างที่ได้เคยกล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ว่า ธรรมชาติของการยึดเกาะของperiodontiumกับฟันนั้นประกอบไปด้วยส่วนยึดเกาะเหนือboneขึ้นมาทางcoronal (supracrestal attachment)และส่วนที่อยู่ต่ำกว่าcrestal boneไปทางapical (subcrestal attachment)

Supracrestal attachment = epithelial attachment & connective tissue attachment

Subcrestal attachment = PDL

โดยConnective tissue attachment & PDLมีลักษณะธรรมชาติที่เป็นเส้นใยfiber

เมื่อมีแรงorthodonticต่อฟัน จะมีการถ่ายแรงจากรากไปยังกระดูกผ่านเส้นใยfiberเหล่านี้ที่เกาะยึดอยู่ ทำให้เกิดฝั่งpressure side(ที่จะมีการresorptionของbone) และtension side(ที่จะเกิดbone appositionขึ้น) 

รูปที่1 supracrestal และsubcrestal attachment (ดัดแปลงจาก Ernesto Lee 2017)

ในระยะเวลาที่ผ่านมา มีการศึกษาจำนวนมากพยายามหาสาเหตุทางphysiologyของperiodontiumที่จะทำให้เกิดrotational relapse. ซึ่งต่างพบว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์นี้น่าจะมาจากส่วนของsoft tissue(fiber)มากกว่าสาเหตุในส่วนของhard tissue(bone) เนื่องจากด้วยธรรมชาติที่osseous tissueนั้นมีความเป็นplasticity และมีอัตราของการเกิดกระบวนการremodelingที่เร็ว

เมื่อมีแรงดึงผ่านรากฟัน -> มาPDL -> สู่lamina duraของbone.   Boneจะพยายามปรับตัวโดยเกิดappositionในฝั่งtension side และเกิดresorptionในฝั่งpressure side…การปรับตัวที่เกิดขึ้นนี้เป็นการปรับตัวอย่างถาวร จึงมีความเป็นไปได้น้อยมากๆ ที่osseous tissueนี้จะมีแรงในการเคลื่อนฟันกลับไปในทิศทางก่อนหน้า

…การปรับตัวที่เกิดขึ้นกับboneฝั่ง tension side และpressure sideเป็นสิ่งที่เราทราบกันดีอยู่แล้วในกลไกเบื้องต้นของการเริ่มเกิดการเคลื่อนที่ของฟัน…

แต่ในส่วนของ soft tissue fiber (gingival & PDL)จะมีลักษณะที่ต่างออกไป เพราะfiberเหล่านี้มีความเป็นelasticityมากกว่า จึงเกิดทฤษฎีขึ้นมาว่า หรือเส้นใยfiberเหล่านี้อาจจะทำหน้าที่คล้ายcoil springและมีการreorientationใหม่ที่ยากกว่าbone. จึงทำให้ภายหลังการถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้ว ลักษณะcoil springที่เกิดขึ้นนี้จึงพยายามบิดฟันที่ได้รับการแก้ไขrotationไปแล้วให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม โดยเส้นใยกลุ่มtranseptal fiberจัดเป็นกลุ่มที่แนวความคิดส่วนใหญ่ให้ความสนใจ เพราะทิศทางการrunตัวของเส้นใยกลุ่มนี้ดูมีแนวโน้มให้เกิดการบิดหมุนของฟันได้ …

รูปที่2 กลุ่มต่างๆของsupracrestal fiberดัดแปลงจาก http://www.dent-wiki.com

…ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และผู้ที่โต้แย้ง…

ฝั่งที่โต้แย้ง ให้ความเห็นว่า เส้นใยfiberทั้งของgingivaและPDLนั้นจะมีลักษณะที่เป็นcollagen fiberไม่ใช่elastic fiberอย่างในmuscle จึงมีโอกาสน้อยที่collagen fiberเหล่านี้จะประพฤติตนเป็นcoil springได้ ซึ่งมีแนวความคิดต่างๆว่าเมื่อfiberเหล่านี้ยืดออก แทนที่จะเกิดลักษณะcoil springแล้ว สิ่งที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นก็คือ

1.Lamina duraที่ถูกPDLดึงนั้นจะพาboneให้remodelตามมา ดังนั้นแม้ว่าfiberจะยังไม่reorientationก็ตาม แต่ถึงอย่างไรboneก็ปรับตัวเข้าหาfiberเหล่านั้นอยู่ดี ดังนั้นcoil springที่ว่าก็ไม่น่าเกิดขึ้น (แต่คำอธิบายนี้ไม่สามารถนำไปอธิบายในส่วนsupracrestal fiberที่ไม่ได้ยึดเกาะกับboneได้)

2.ถ้าfiberถูกยึดมากๆจริง มันก็น่าจะขาดหลุดออกจากจุดinsertionที่cementumหรือlamina duraของboneไป ซึ่งพอฟันอยู่ในpositionใหม่ fiberเหล่านั้นก็จะกลับมาreinsertที่cementumหรือboneในตำแหน่งใหม่เหล่านี้ ดังนั้นความเป็นcoil springก็ไม่น่าจะมี

3.บางทฤษฎีเชื่อว่า หรือแท้จริงแล้วแรงดึงกลับนี้อาจจะเกิดขึ้นจากfiberอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นใหม่จากการที่fiberเดิมที่ถูกยืดนั้นขาดออกจากกัน (ไม่ได้หลุดจากจุดinsertion แต่เป็นลักษณะเส้นใยที่ฉีกขาด) โดยจุดที่fiberเส้นเดิมขาดออกจากกันจะมีการสร้างfiberซ่อมสร้างใหม่ขึ้นมาตามรอยขาดนั้น และเรียกเส้นใยfiberที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า “intermediate fiber” (หรือบางแนวคิดเชื่อว่าPDL fiberที่มาจากcementumและboneนั้นตามธรรมชาติมันจะเป็นคนละเส้น และมาconnectกันตรงกลาง เรียกเป็นintermediate plexusบ้างก็มี) ซึ่งเส้นใยหรือplexusกลุ่มนี้แหละที่เป็นelastic fiber or oxytalan fiberทำให้เกิดcoil springขึ้นได้ อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ก็ยังมีข้อถกเถียงกันเยอะพอสมควร เนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่เชื่อว่าintermediate fiberจะเกิดขึ้นยากจากสภาวะrate of tooth movementจากการจัดฟัน รวมทั้งยังมีหลายๆการศึกษาที่ดูผลhistologyในfiberของฟันที่ได้รับorthodontic forceแล้วก็ไม่พบว่ามีspecimenใดที่มีปรากฏการณ์เกิดintermediate fiberขึ้น

แม้ว่าจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันในการเกิดrerotationของฟันก็ตาม แต่เราก็จะพบความสอดคล้องกันของความเชื่อในแนวคิดเหล่านั้นว่า “rotational relapse น่าจะเกิดขึ้นจากfiberสักอย่างที่มันอยู่รอบๆฟันที่เคยบิดหมุนเหล่านั้น โดยมีแนวโน้มสูงว่าfiberนั้นจะเป็นกลุ่มsupracrestal fiber (เพราะบริเวณเหนือกระดูกขึ้นมามันไม่มีbone remodelingมาช่วย), แม้ว่าจะยังมีบางคนที่ยังเชื่อว่าsubcrestal fiberก็น่าจะมีผลร่วมด้วยก็ตาม” 

ความพยายามในทางorthodonticที่จะรับมือกับปัญหา rotational relapseที่ผ่านมา มีตั้งแต่การcompensate ด้วยการทำoverrotationบ้าง, การretentionฟันกลุ่มนี้ที่นานขึ้นบ้าง แต่อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร 

…จนในที่สุดจึงนำมาซึ่งการนำวิถีsurgical wayมาใช้ร่วมในการจัดการกับปัญหาในฟันกลุ่มนี้…

เริ่มตั้งแต่Hallett 1956ที่เสนอการใช้คีมถอนฟัน มาบิดฟันกลุ่มนี้เพื่อแก้rotationตั้งแต่แรกที่เริ่มการจัดฟันเลย เพื่อหวังผลให้เกิดการฉีกขาดของfiberที่อยู่ล้อมรอบรากฟัน และให้เกิดnew attachmentใหม่หลังฟันได้บิดไปpositionใหม่แล้ว แต่วิธีดังกล่าวก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับมากนัก เนื่องจากพบบ่อยที่ฟันในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้มักจบด้วยการเกิดpulpal degenerationขึ้น

รูปที่3 surgical tooth forcep

จนในที่สุดก็นำมาซึ่งการเกิดวิถีsurgical wayอีกวิธีหนึ่งที่มีความinvasiveที่น้อยกว่า และเป็นวิธีที่ผมอยากจะเน้นพูดถึงกันในบทความนี้ นั่นคือทฤษฎีของการทำ circumferential fiberotomy (CSF)ในซี่ฟันที่มีการบิดหมุน(เป็นbase line rotated tooth) 

การทำ CSFคือการลง intrasulcular incisionในฟันซี่ที่มีการบิดหมุน เบลดจะสอดผ่านไปในร่องเหงือกจนถึงกระดูกข้างใต้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดfiberทั้งหมดที่อยู่ล้อมรอบรากฟันซี่นั้นออก(บางprotocolอาจให้ตัดเฉพาะบริเวณinterproximal เพราะต้องการมุ่งเป้าหมายไปเฉพาะที่transeptal fiber) Edward 1970แนะนำให้สอดเบลดให้penetrateต่ำกว่าcrestal boneเข้าไปในส่วนPDL space 2-3mmเพื่อตัดPDLในส่วนcervical partออกด้วย 

หัตถการดังกล่าวนี้เราจะทำในช่วงที่จะเริ่มretention phaseของฟัน, ไม่ควรทำในช่วงที่เหงือกมีสภาวะการอักเสบอยู่ และไม่ทำในactive phase of orthodontic tooth movement (ประเด็นสุดท้ายนี้เดี๋ยวเราจะมากล่าวถึงกันอีกที)

รูปที่4 ลักษณะการทำCSFที่ถูกproposeโดย Edward 1970

การเรียงตัวไม่เหมาะสมหรือประพฤติตนเป็นcoil springอยู่นั้นหลุดออก และเกิดการreorientationขึ้นในตำแหน่งใหม่ที่สอดคล้องกับpositionของรากฟันในตอนนี้ เพื่อไม่ให้เกิดแรงดึงใดที่จะหมุนฟันกลับไปยังจุดเดิมได้อีก 

เราจะทำ CSFภายใต้การฉีดยาชา ใช้เบลดที่มีปลายเล็กๆจะได้ไม่traumaขอบเหงือก เช่น เบลด No.15C, 11, 12 เป็นต้น CSFเพื่อป้องกันrotational relapseจะทำแค่visitเดียว ไม่จำเป็นต้องนัดมาทำซ้ำอีกเหมือนพวกเคสที่ต้องการทำfiberotomyในงานextrudeฟัน (fiberotomyในงานextrudeฟัน สามารถไปดูรายละเอียดเบื้องต้นได้ในบทความ What is biologic width?)

รูปที่5 ลักษณะการทำCSFในทางคลินิก (R. Al-Jasser et al. 2020)

การศึกษาสุดแสนamazingของ Edward ในปี1970 คือการที่เค้าทำการศึกษาในคนไข้orthodontic 12 รายที่มีbased line rotated toothอย่างน้อย 1ซี่, คนไข้ทั้งหมดได้รับการจัดฟันด้วยfixed appliances เพื่อแก้ไขปัญหาrotationดังกล่าว

Edward ได้แบ่งกลุ่มของซี่ฟันrotated toothทั้งหมดออกเป็นกลุ่มtest และcontrol, โดยbase lineได้มีการทำIndia ink tattooบริเวณเหงือกของซี่ฟันทั้งสองกลุ่ม

รูปที่6 base line tattooการแก้การบิดหมุนของฟัน (Edward 1970)

สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อฟันทุกซี่ถูกบิดเพื่อแก้rotation…Edwardจะพบว่ารอยtattooที่ทำไว้ที่เหงือกนั้นมีการบิดเบี้ยวไปตามองศาที่ฟันซี่นั้นๆบิดไป

รูปที่7 tattooที่มีการบิดเบี้ยวไปตามองศาของฟันที่ถูกแก้การบิดหมุน (Edward 1970)

ภายหลังฟันถูกบิดมาในalignmentที่เหมาะสมแล้ว ฟันจะถูกretainไว้ในpositionนี้ต่ออีก 2 เดือน จากนั้นจึงถอดarch wireออกเพื่อสังเกตดูการrelapseที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนั้น

พบว่า…กลุ่มcontrolที่ไม่มีการทำ CSF. ฟันที่ได้รับการแก้rotation จะเกิดrerotationกลับไปในทิศทางเดียวกับตอนbase line หนำซ้ำยังพบอีกว่าtattooที่ทำไว้นั้นมีการบิดตัวกลับไปในทิศทางที่จะเป็นเส้นตรงเหมือนกับbase lineด้วย!!

รูปที่8 กลุ่มcontrolที่เกิดrotational relapse ร่วมกับพบtattooที่มีการบิดกลับไปในทิศทางเดียวกับที่base line (Edward 1970)

ในขณะที่กลุ่ม testซึ่งจะได้รับการทำCSFในvisitที่ถอดarch wireออก จะพบการบิดกลับของรอยเส้นtattooที่เหงือก แต่กลับไม่พบการบิดกลับของฟัน!! นั่นคือกลุ่มที่ทำCSFจะไม่พบrotational relapseขึ้น

รูปที่9 กลุ่มtestที่ทำCSF พบtattooมีการบิดกลับไปในทิศทางbase line แต่ฟันไม่ได้มีการบิดตามไปด้วย (Edward 1970)

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในปีค.ศ.1988ของEdward ที่ได้รายงานผลการรักษาlong term prospective เปรียบเทียบฟันที่ได้รับการแก้rotation ที่กลุ่มหนึ่งมีการทำCSFในvisitที่จะถอดเครื่องมือจัดฟัน(กลุ่มtest) และอีกกลุ่มที่ไม่ได้ทำCSF (กลุ่มcontrol) พบว่า4-6ปีหลังถอดเครื่องมือ กลุ่มtestมีการเกิดrelapseน้อยกว่ากลุ่มcontrolถึง29% 

ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ พบว่าปัจจุบันมีบางการศึกษาที่นำเอาเลเซอร์มาใช้ในการทำfiberotomyแทนการใช้เบลด ด้วยเหตุผลที่ต้องการลดข้อด้อยบางประการของการใช้เบลดที่อาจมีปัญหาเรื่อง post operative bleeding, pain, swelling,… เพราะการใช้เลเซอร์มีpost operative bleedingที่น้อยกว่า(stop bleedไปในตัว), เลเซอร์บางประเภทมีความจำเพาะต่อchromophoreของbacteriaบางกลุ่ม โดยเฉพาะพวกperiodontal pathogen ทำให้การใช้เลเซอร์จะให้ผลที่เหนือกว่าในเรื่องลดการติดเชื้อหลังการทำหัตถการได้ดี, เลเซอร์ยังมีผลbiostimulatory effectช่วยกระตุ้นการทำงานของcytokineบางตัว จึงช่วยส่งเสริมการหายของแผล ทำให้แผลหายเร็วกว่าวิธีconventionalปกติ, นอกจากนี้ด้วยการที่เลเซอร์จะทำให้เกิดการอุดปิดlymphatic vessel ทำให้นอกจากจะช่วยในเรื่องการstop bleedดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังลดอาการบวมและปวดได้ดีอีกด้วย

…การนำหลักการfiberotomyไปใช้ในงานอื่นนอกเหนือจากการป้องกันrotational relapse…

เราทราบกันอยู่แล้วว่าการที่ขอบเหงือก(gingival margin)และcrestal boneเคลื่อนตามฟันได้เพราะกลุ่มfiberที่ยึดอยู่รอบรากฟันดึงพาขอบเหงือกและกระดูกไปด้วย ดังนั้นในกรณีที่เราต้องการเคลื่อนฟันในกรณีพิเศษที่เราไม่อยากให้ขอบเหงือกและกระดูกเคลื่อนตามไปด้วย เราสามารถทำfiberotomyร่วมด้วยได้ ดังเช่นกรณีการทำorthodontic eruptionเพื่อการcrown lengtheningในบางกรณี (สามารถดูรูปตัวอย่างได้ในบทความ What is biologic width?) ดังนั้นหากคุณหมอเอาวิธี CSFไปทำในช่วง active orthodontic txก็จะเป็นผลให้periodontiumไม่moveตามฟันไปด้วยได้เช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่ปกติเราจะทำCSFในช่วงretention phase หรือในactive phaseของการทำorthodontic eruptionบางกรณีเท่านั้น

สุดท้ายนี้อยากจะย้อนกลับไปยังเนื้อหาที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นของบทความอีกครั้งว่า การเกิดrelapseภายหลังการจัดฟันมีได้หลายรูปแบบ ทั้ง re-opening of space, re-rotation of tooth, การมีcrowdingเกิดขึ้นใหม่บ้าง,… ซึ่งแท้จริงแล้วคุณหมอต้องหาสาเหตุให้ดีก่อนว่าสรุปแล้วปัญหาในเคสของเรานั้นเกิดขึ้นจากอะไร 

มาจากการวางtx planที่ไม่เหมาะสม, habit, muscle, periodontal health, คนไข้ไม่ให้ความร่วมมือในการใส่retainer?? เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการวางแผนในช่วงretention phaseและการrelapseที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้น การแก้ไขต้องมุ่งตรงเข้าสู่สาเหตุเสมอ และการทำCSFก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการre-opening of spaceได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นได้

สรุปเรื่อง rotational relapse & CSF

มีหลายการศึกษาที่พบว่า แม้คนไข้จะใส่retainerได้ดีก็ตาม แต่ปัญหาrotational relapseก็ยังสามารถเกิดได้อยู่ โดยซี่ฟันที่มีbase line rotationมากจะมีความเสี่ยงหรือพบการrerotationได้สูงกว่า ซึ่งด้วยเหตุผลของธรรมชาติของเส้นใยfiberในperiodontiumดังที่ได้กล่าวไป การทำCSFจึงถือเป็นแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาเหล่านี้ ทั้งยังถือเป็นวิธีที่invasiveน้อย เพราะไม่มีการตัดเหงือกหรือการกระทำใดที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรต่อperiodontium, ทำง่าย และมีการศึกษาใหม่ๆที่นำเอาเครื่องมือกลุ่มเลเซอร์มาใช้ในการทำCSFเพื่อหวังผลในการหายที่ดีขึ้น 

Reference

1.Edwards JG. A surgical procedure to eliminate rotational relapse. Am J Orthod 1970;57:35-46.

2.Zwarych, P. D. and Quigley, M. B. The Intermediate Plexus of the Periodontal Ligament: History and Further Observations. Journal of Dental Research 1965; 44(2): 383–391.

3.Edwards JG. A long-term prospective evaluation of the circumferential supracrestal fiberotomy in alleviating orthodontic relapse. Am J Orthod Dentofacial Orthop 1988;93:380-7. 

4.Reitan, K.: Retention and avoidance of post treatment relapse, Am. J. Orthod 1969;55:784. 

5.Hallett, G. M.: Immediate torsion. A preliminary report of twenty-three cases, D. Practitioner 1956;7: 108-110. 

6.Haryett, R. D.: A study of traumatic tooth movenlent (Abst.), Am. J. Orthod 1962;48:627. 

7.Kim SJ, Paek JH, Park KH, Kang SG, Park YG. Laser-aided 

8.circumferential supracrestal fiberotomy and low-level laser therapy effects on relapse of rotated teeth in beagles. Angle Orthod 2010;80:385-90. 

9.Sarver DM, Yanosky M. Principles of cosmetic dentistry in orthodontics: part 2. Soft tissue laser technology and cosmetic gingival contouring. Am J Orthod Dentofacial Orthop 2005;127:85-90. 

ทพ.เฉลิมพร พรมมาส
ทพ.เฉลิมพร พรมมาสhttp://www.c-prommas.com
วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็น Course Director และ วิทยากรในงานทัตกรรม ทั้ง Perio , Ortho และ Dental Impant Surgery
Advertisingspot_img

Popular posts

My favorites

I'm social

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
0ผู้ติดตามติดตาม