วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกบทความ/เคสถ้าไม่มี Keratinizied gingiva แล้วต้องฝังสกรูตรงนั้นพอดี .... จะทำยังไงได้บ้าง ?

ถ้าไม่มี Keratinizied gingiva แล้วต้องฝังสกรูตรงนั้นพอดี …. จะทำยังไงได้บ้าง ?

คุณหมอเคยไหม ? “…ที่ในบางเคสคุณหมอต้องการฝัง Miniscrew เพื่อเพิ่ม anchorage แต่บริเวณนั้นดันไม่มีส่วน attatched/ keratinized gingiva….”

ในงานจัดฟัน โดยเฉพาะตำแหน่งขากรรไกรบนนั้น การใช้ miniscrew มีความจำเป็นในหลายสถานการณ์ ยิ่งเคสที่ต้อง correct large overjet หรือเคสที่จัดฟันไปแล้วมีการ replasp และมาขอรับการจัดฟันรอบที่ 2 !!

แต่ทั้งนี้ “เหงือก” ในบางตำแหน่งที่เราอยากจะฝัง miniscrew ก็ไม่ได้เป็นใจนัก
เนื่องจากหากตำแหน่งดังกล่าวมีลักษณะเนื้อเยื่อที่เป็น non-keratinized tissue การฝัง miniscrew ลงไปในตำแหน่งเหล่านี้มักส่งให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ในภายหลัง
หลายๆการศึกษาพบความสัมพันธ์ของ miniscrew failure, pain, discomfort กับตำแหน่งของการฝัง miniscrew ที่เป็น non-keratinized tissue แม้บางเคสคุณหมอจะพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการฝังตำแหน่ง MGJ (mucogingival junction) แทนก็ตาม แต่คุณหมอก็ต้องระวังไว้ด้วยว่า…


ส่วน auxiliaries (coil springs, elastomeric chains, hooks, ligature) เหล่านี้ต้องไม่สัมผัสในส่วน mucosa ซึ่งอาจยังทำให้เกิดการ irritate และทำให้เกิดการอักเสบบริเวณ mucosa ตามมาได้เช่นกัน

ตัวอย่างในภาพนี้ ผมถือว่าเป็นเคสที่ทำการฝัง miniscrew ง่าย เพราะมี bone มากพอ และมีปริมาณ attached gingiva เป็นบริเวณกว้าง
**แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้เจอเคสง่ายๆแบบนี้เสมอไป ถ้ามีเคสที่จำเป็นต้องฝัง miniscrew แต่ไม่มี attatched/ keratinized gingiva หล่ะ??

ในสถานการณ์เหล่านี้ งาน Perio-Sur จะเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา soft tissue defect ที่มีอยู่ ด้วยการเปลี่ยนเหงือกที่เคยเป็น non-keratinized ให้กลายเป็น keratinized gingiva อย่างไรก็ตามเทคนิคในการสร้าง keratinized gingiva นี้ ปัจจุบันมีอยู่หลายเทคนิคขึ้นอยู่กับลักษณะ defect ตำแหน่งนั้น, ตำแหน่งข้างเคียง, ตำแหน่งของขากรรไกร, รวมทั้งความกลัวเจ็บของคนไข้ด้วย


ทั้งนี้หากคุณหมอเข้าใจข้อดี-ข้อเสีย และข้อจำกัดของแต่ละเทคนิค ผลสำเร็จของการผ่าตัดประเภทนี้ถือว่าค่อนข้างสูง และในทางกลับกันหากคุณหมอเลือกเทคนิคที่ไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลเสียในเคสเหล่านั้นได้งานทำงานหรือการคิดแบบ interdisciplinary approach (ไม่ว่าคุณหมอจะส่งต่อเคส หรือสามารถทำ perio-sur ในเคสเหล่านี้ได้เอง) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผลลัพธ์สุดท้ายส่งผลดีต่อคนไข้ของคุณหมอมากที่สุดครับ

**ขอบพระคุณคนไข้และคุณหมอเจ้าของเคสที่เอื้อเฟื้อภาพนี้เพื่อการศึกษาครับ

ทพ.เฉลิมพร พรมมาส
ทพ.เฉลิมพร พรมมาสhttp://www.c-prommas.com
วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็น Course Director และ วิทยากรในงานทัตกรรม ทั้ง Perio , Ortho และ Dental Impant Surgery
Advertisingspot_img

Popular posts

My favorites

I'm social

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
0ผู้ติดตามติดตาม